วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยชน์มะเขือ

ประโยชน์ของมะเขือเทศ : ต้านอนุมูลอิสระ-ชะลอชรา
การกินมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก ช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก...

มะเขือเทศ ทุกท่านคงจะรู้จักมะเขือเทศเป็นอย่างดี เพราะเป็นผลไม้ที่ใช้ในการประกอบอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม


และโบรอน สารสำคัญในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ สารไลโคพีน (lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย สารไลโคพีนนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้มากถึงร้อยละ 20 สารไลโคพีนพบมากในมะเขือเทศแดงสด แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง

 

มะเขือยาว


มะเขือยาว เป็นพืชข้ามปี สามารถเจริญ เติบโตในดิน ทุกสภาพ ดินมีความเป็น กรดเ็ป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูกได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของไปประเทศไทย มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิด

การเตรียมแปลงและเพาะกล้ามะเขือยาว

ขุดดินลึก 15-20 เซนติเมตร (1 หน้าจอบ) ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลาย ตัวดีแล้วพรวนดิน และย่อยดินให้ละเอียด ยกเป็นแปลง ตามขนาดและตามความต้องการ ปรับหน้าดินให้เีรียบหว่าน เมล็ดพันธุ์ให้กระจายให้ทั่วแปลง แล้วหว่านกลบด้วย ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุดด้วยฟางข้าวกลบหน้าบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม ดูแลรักษากล้านาน 25-30 วัน ต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ จึงย้ายลงแปลงปลูก

การเตรียมแปลงปลูกและการย้ายปลูก

มะเขือยาว เป็นพืชที่มีรากค่อนข้างลึก ในแปลงปลูกควรโรยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ยกแปลงให้สูง 20-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5 เมตร ความยาวแปลงแล้วแต่พื้นที่ ขุดหลุมปลูกลึก 15-20 เซนติเมตร (1 หน้าจอบ) ใช้ระยะ ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ 1/2 ช้อนชา ทับหน้าปุ๋ยเคมีด้วยปุ๋ยคอก หลุมละ 1 กะลามะพร้าว เสร็จแล้วให้นำต้นกล้าลงปลูกในหลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษามะเขือยาว

  1. การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 1 ช้อนชา/ต้น ทุกๆ 15-20 วัน โรยห่างโคนต้น 5-10 เซนติเมตร (บริเวณชายทรงพุ่ม) หรือใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอโดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
  3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช หลังจากปลูกแล้ว ถ้ามีวัชพืชให้รีบกำจัดอย่างปล่อยให้รบกวน เพราะจะทำให้แย่งน้ำอาหาร และควรพรวนดินไปด้วยเพื่อให้ิดินร่วน

การเก็บเกี่ยวมะเขือยาว

อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือยาวประมาณ 60-80 หลังย้ายกล้าลงปลูกสามารถเก็บได้ ให้เลือกเก็บผลที่มีขนาดพอเหมาะ

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะมะเขือเปราะ ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพืชผักที่มีอายุยืน สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การเพาะกล้ามะเขือเปราะ (egg plant, Chionathus parkinonii)

  1. ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพราะกล้า
  2. ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม.
  3. นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด
  4. กลบดินผิวหน้าเมล็ดมะเขือเปราะแล้วรดน้ำ และควรป้องกันมดมาคาบเมล็ดไปากถาดพลาสติกเพาะกล้า โดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นล้อมถาดเพาะไว้
  5. หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถาง หรือในแปลงปลูก

การเตรียมในแปลง มะเขือเปราะ (egg plant, Chionathus parkinonii) หรือในกระถาง

  1. ถ้าปลูกมะเขือเปราะในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง
  2. ในกรณีปลูกมะเขือเปราะในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1

การดูแลรักษา มะเขือเปราะ (egg plant, Chionathus parkinonii)

  1. ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง
  2. รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
  3. หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1 ส่วน 4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 ซม. และรดน้ำทันที
  4. ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1 ส่วน 4 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน
  5. หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้
  6. หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะ เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่ง และบำรุงต้นมะเขือเปราะ เช่นนี้ ทุกๆ 2-3 เดือน

มะเขือพวง

มะเขือพวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ซื่อสามัญ
Plate brush egg plant

ชื่อท้องถิ่น
มะเขือละคร หมากแค้ง มะแคว้งกูลัว มะแคว้งกูลา มะแว้ง มะแว้งช้าง รับจงกลมปอลอ ปอลือ เขือข้อย เขือพวง
ลูกแว้ง แว้งช้าง เขือเทศ ตะโกงลาโน จะเคาะค่ะ หมากแข้ง มะแขว้ง มะแข้งคม มะเขือป้าว (ภาคเหนือ) มะเขือฝรั่ง (กรุงเทพฯ)
มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน (ภาคกลาง) สะกอวา ยั่งมูไล่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเขือพวง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Solanum torvum Sw. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE ซึ่งเป็นวงศ์ของพืชพวกพริกและมะเขือ
ต่าง ๆ นั่นเอง มะเขือพวงมีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่น ๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือนมะเขือ
ชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูงถึงกว่า 1 เมตร ขึ้นไปถึง 2 เมตร
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
ราก
ะเขือพวงจะมีระบบรากเป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) ระบบรากฝอย ซึ่งพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเมื่องอกออกจากเมล็ด มีรากแก้วแต่รากแก้วจะสลายไป ประกอบด้วยรากที่มีขนาดใกล้เคียงกัน จำนวนมาก ซึ่งรากดังกล่าวเจริญและพัฒนามาจากเซลล์ที่อยู่ปลายสุดของลำต้น ดังนั้นจึงอาจถูกเรียกว่า adventitious root ได้ด้วย รากฝอยบริเวณโคนรากมีขนาดใกล้เคียงกับปลายรากและมักจะมี การเจริญขนานไปกับพื้นดิน ซึ่งแตกต่างจากระบบรากแก้วที่มักเจริญลงด้านล่างลึกลงไปในดิน
เพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ ตัวอย่างพืชระบบรากฝอย ได้แก่ หญ้า ข้าวโพด พริก มะเขือต่างๆ มะพร้าว เป็นต้น

มะเขือม่วง


พืชผักสมุนไพร อย่างมะเขือม่วง ที่เราสามารถนำมารับประทาน เป็นอาหาร ทั้งอร่อยและมีประโยชน์ ต่อร่างกาย ของเราอย่างมากเลย
มะเขือม่วงชื่ออื่น : มะเขือกะโปกแพะ, มะเขือหำม้า, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว,
มะเขือม่วงเป็นพืช ดั้งเดิม ของอินเดีย ปลูกง่าย การดู แลรักษา ไม่ยุ่งยาก ถ้าเอาใจใส่ ดีเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้ ระยะนาน โรคและ ศัตรูมีน้อย ทนแล้ง ปลูกได้ ตลอดปี ทำเลที่เหมาะอยู่ ในระดับ 500-800 เมตร
มะเขือม่วง พันธุ์ปลูก : Black King
การปลูกมะเขือม่วง
- มะเขือม่วง มีการเพาะกล้า ก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดิน ในกะบะเพาะ หรือในถุงพลาสติก
- การที่เรา หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะ ในกะบะเพาะ ควรเว้น ระยะระหว่างต้น ประมาณ 5 เซนติเมตร ระหว่าง แถว ประมาณ 10 เซนติเมตร ด้วยล่ะ
- เมื่อเมล็ดงอก แล้วมี ใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยก เหลือต้นกล้า แข็งแรง สมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- ต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือ เริ่มเจริญเติบโต ให้เรา ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้น มะเขือม่วง เริ่มออกดอก ก็ให้ใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12 ลงไปที่ต้นมะเขือ
- มะเขือม่วง จะมีอายุใน การเก็บเกี่ยว มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังจากที่ ทำการย้ายกล้า
ประโยชน์ มะเขือม่วง
สามารถนำมา ประกอบอาหารกิน ผลดิบ-นำมาเผาทาน กับน้ำพริก ก็อร่อย ได้เหมือนกัน
ประโยชน์ทางยา :
ลำต้น ราก- นำมาต้มกิน ช่วยในการ แก้บิด หรือ อาจจะนำมา คั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย
ใบแห้ง มะเขือม่วง- นำมาป่นเป็นผง นำมาใช้ เป็นยาแก้โรคบิด ปัสสาวะขัด หนองใน
ดอกสด มะเขือม่วง หรือแห้ง นำมาใช้ เผาให้เป็นเถ้า จากนั้น แล้วบดละเอียด แก้ปวดฟัน
ผลแห้ง-ทำ เป็นยาเม็ด ช่วยในการแก้ปวด แก้ตกเลือด ในสำไส้ ช่วยในการขับเสมหะ
ผลสด-นำมาใช้พอก บริเวณที่เป็น แผลอักเสบ ฝีหนอง หรือ โรคผิวหนังเรื้อรัง การเกิดผดผื่นคัน ที่ผิวหนัง

มะเขือเทศ

ประโยชน์ และ สรรพคุณมะเขือเทศ

ประโยชน์ / สรรพคุณมะเขือเทศ


มะเขือเทศสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบทั้งในแบบผัดผัก ข้าวผัด น้ำพริกอ่อง ซุปทั้งใสและข้น ยำต่าง ๆ รวมไปถึงส้มตำอาหารอันโอชะของใครต่อใครหลายคนก็เหมือนจะขาดมะเขือเทศไม่ได้ เพราะนอกจากจะสร้างสีสันแล้วยังเพิ่มรสชาติให้อีกด้วย หากจะนำมาคั้นเป็นน้ำมะเขือเทศดื่มก็ชุ่มคอชื่นใจดีหรือทำเป็นซอสมาปรุงรสอาหารก็ได้ ในผลของมะเขือเทศนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่จำนวนมาก

มะเขือเทศช่วยให้ร่างกายสดชื่น กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยย่อยอาหาร และยังช่วยการระบายการขับถ่ายให้สะดวกขึ้นอีกด้วย และมีการวิจัยกันว่าการดื่มน้ำมะเขือเทศเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งของต่อมลูกหมากที่คุณผู้ชายกลัวนักกลัวหนา

นอกจากวิตามินซีที่มีสูงในมะเขือเทศแล้ว วิตามินอื่น ๆ ก็มีอยู่ครบทุกชนิด แถมเปลือกนอกของมะเขือเทศยังมีสารชนิดเดียวกับที่พบในเปลือกองุ่นแดงที่เชื่อว่ามีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย

ประโยชน์ของมะเขือเทศนอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีประโยชน์ต่อคุณผู้หญิงอีกด้วย ถ้าคุณเป็นคนรักสวยรักงามกลัวรอยเหี่ยวย่นจะมาเยือนเร็วเกินไป ลองนำมะเขือเทศสุกมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ แล้ววางแปะไว้บนหน้า หรือใช้น้ำมะเขือเทศคั้นสด ๆ ทาตามใบหน้าเชื่อกันว่าจะทำให้ผิวเต่งตึงมีน้ำมีนวลขึ้น

ไม่เพียงแค่นั้นเมล็ดของมะเขือเทศยังเอามาปลูกเพื่อขยายพันธุ์ได้หรือนำมาสกัดเอาน้ำมันเพื่อมาใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ อุตสาหกรรมสี และกากที่เหลือยังใช้เลี้ยงสัตว์กับเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย

เห็นไหมค่ะว่าประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศมีมากมายขนาดนี้แล้วอย่าลืมที่จะหันมาเลือกทานมะเขือเทศกันเยอะ ๆ นะค่ะ