วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มะเขือพวง

มะเขือพวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ซื่อสามัญ
Plate brush egg plant

ชื่อท้องถิ่น
มะเขือละคร หมากแค้ง มะแคว้งกูลัว มะแคว้งกูลา มะแว้ง มะแว้งช้าง รับจงกลมปอลอ ปอลือ เขือข้อย เขือพวง
ลูกแว้ง แว้งช้าง เขือเทศ ตะโกงลาโน จะเคาะค่ะ หมากแข้ง มะแขว้ง มะแข้งคม มะเขือป้าว (ภาคเหนือ) มะเขือฝรั่ง (กรุงเทพฯ)
มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน (ภาคกลาง) สะกอวา ยั่งมูไล่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเขือพวง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Solanum torvum Sw. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE ซึ่งเป็นวงศ์ของพืชพวกพริกและมะเขือ
ต่าง ๆ นั่นเอง มะเขือพวงมีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่น ๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือนมะเขือ
ชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูงถึงกว่า 1 เมตร ขึ้นไปถึง 2 เมตร
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
ราก
ะเขือพวงจะมีระบบรากเป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) ระบบรากฝอย ซึ่งพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเมื่องอกออกจากเมล็ด มีรากแก้วแต่รากแก้วจะสลายไป ประกอบด้วยรากที่มีขนาดใกล้เคียงกัน จำนวนมาก ซึ่งรากดังกล่าวเจริญและพัฒนามาจากเซลล์ที่อยู่ปลายสุดของลำต้น ดังนั้นจึงอาจถูกเรียกว่า adventitious root ได้ด้วย รากฝอยบริเวณโคนรากมีขนาดใกล้เคียงกับปลายรากและมักจะมี การเจริญขนานไปกับพื้นดิน ซึ่งแตกต่างจากระบบรากแก้วที่มักเจริญลงด้านล่างลึกลงไปในดิน
เพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ ตัวอย่างพืชระบบรากฝอย ได้แก่ หญ้า ข้าวโพด พริก มะเขือต่างๆ มะพร้าว เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น